6 เรื่องสำคัญที่ส่งผลต่อเด็กไทยในยุคหลังโควิด

จากรายงานสถานการณ์เด็กและครอบครัว ประจำปี 2566

              การดำเนินงานของสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว (สำนัก 4) สสส.  ที่ผ่านมาหลายปี  มีรูปแบบเป็นการทำงานเฉพาะพื้นที่  เฉพาะเรื่อง  เฉพาะจุด  จึงยังไม่มีแรงส่งแรงผลักดันให้สุขภาวะของเด็ก เยาวชนและครอบครัวบรรลุผลได้อย่างที่เรียกว่า ทำสำเร็จ

              เมื่อต้องคิดใหม่  ทำใหม่  การทำงานวิจัยเพื่อเกาะติดสถานการณ์จึงมีความจำเป็นและจริงจัง  จึงต้องทำสำรวจสถานการณ์และความต้องการของเด็กและเยาวขนอย่างแท้จริง

              วิชาการที่จัดทำขึ้นโดย  คิดฟอร์คิดส์ ภายใต้การสนับสนุนของสำนัก  4  มีเป้าหมายในการทำงานโดยศึกษาปัจจัยแวดล้อมรอบตัวเด็กแบบรอบด้าน  และนำข้อมูลการศึกษามาออกแบบให้ระบบนิเวศน์รอบตัวเด็กเอื้อต่อการเติบโตของเด็กและสอดคล้องกับโลกยุค VUCA World

              งานวิชาการที่ผลิตโดยคิดฟอร์คิดส์  จึงช่วยสนับสนุนเป้าหมายของสำนักฯ  ที่ต้องการให้บรรลุในปี  2570  คือเกิดพื้นที่   300  แห่งที่สามารถเป็นต้นแบบบูรณาการจนเกิดเป็นผลลัพธ์สุขภาวะเด็กและเยาวชน  การมีดิจิทัลแพลตฟอร์มที่เป็นกลไกความร่วมมือพหุภาคี  และมีข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อเพิ่มทรัพยากรให้ครอบครัวและเพิ่มพื้นที่เรียนรู้ใกล้บ้าน

              ในปี  2566  คิดฟอร์คิดส์   101 pub  และสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก  เยาวชน  และครอบครัว  สสส.  ร่วมกันสำรวจสถานการณ์รายงานเด็กและเยาวชนในรอบ  1  ปี  ที่ผ่านมา  พบว่ามีเรื่องสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาวะเด็กและเยาวชน  สะท้อนถึงวิกฤติสามด้านคือ  ด้านความเหลื่อมล้ำ  การพัฒนา  ด้านสังคมการเมือง  และด้านโครงสร้างครอบครัว  นำมาสู่   6  สถานการณ์สำคัญได้แก่

ประเด็นที่ 1 ครอบครัว

              1.8 ล้านคนของเด็กอายุไม่เกิน 15  ปีไม่ได้อยู่กับพ่อแม่   เกิดครอบครัวแหว่งกลางหลากหลายรูปแบบทำให้เผชิญความเปราะบางทับซ้อน  และส่งผลไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัยเปราะบางในหลายรูปแบบไปด้วยเช่น  เกิดความตึงเครียด  ขัดแย้ง ห่างเหิน  ส่งผลต่อคุณค่า  ทัศนคติของเยาวชนใน  5  กลุ่มตามที่มีการสำรวจมาข้างต้น

ประเด็นที่ 2 การทำงาน

              เยาวชนอยากประสบความสำเร็จด้านการทำงาน  แต่  “ไม่มีงาน”  ให้ทำอย่างเพียงพอ  ทั่วถึง  โควิดส่งผลให้อัตราการว่างงาน และว่างงานแฝงของเยาวชนสูงสุดเป็นประวัติการณ์โดยเฉพาะกลุ่มระดับอุดมศึกษา

              เยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในการทำงาน การศึกษา หรือการฝึกอบรม  (Youth Not in Employment, Education, or Training : NEET)
หรือถูกเรียกสั้นๆว่า  เป็นเด็ก NEET  ไม่ได้รับจ้างงาน  เรียนหรือฝึกทักษะ  เยาวชนกลุ่มนี้  2  ใน  3  ไม่พร้อมทำงาน และไม่อยากฝึกทักษะ  เพราะอยากพักผ่อน  เหตุผลที่สองคือไม่มีเวลา  เพราะต้องดูแลครอบครัว  รวมทั้งหาหลักสูตรที่เหมาะสมกับตัวเองไม่ได้

              นอกจากนั้น  เยาวชนยังพบปัญหาเรื่องการหางานที่ดี  ได้ยากกว่า เพราะค่าจ้างต่ำ  ไม่ตรงตามฝัน  และงานหนักเกินควร

ประเด็นที่ 3  การเรียนรู้และการศึกษา

              ผลสำรวจพบว่าเด็กและเยาวชนเผชิญกับภาวะการเรียนรู้ถดถอยในช่วงโควิด  โดยในมัธยมต้นพบว่า วิชาที่ถดถอยมากคือ  คณิตศาสตร์  และภาษาอังกฤษ

              นอกจากนั้นยังพบว่า  ทักษะแห่งอนาคต  มีความจำเป็นมากขึ้น แต่ระบบการศึกษากลับไม่สามารถตอบสนองได้  โดยเฉพาะทักษะด้านการเงิน  การลงทุน  การตระหนักรู้ด้านเสรีภาพการเมือง  และทักษะด้านภาษาอังกฤษ

              ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นคุณภาพการให้บริการศึกษาว่ามีคุณภาพต่ำ  เพราะเยาวชนเผชิญปัญหาคุณภาพครู  อำนาจนิยม และการละเมิดสิทธิ  โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนกลุ่มทัศนติที่ 1 รายงานว่ามีปัญหาครูมากที่สุดและไว้ใจครูน้อยที่สุด

ประเด็นที่ 4 สุขภาพจิต

              ปัญหานี้ยังคงเป็นปัญหาใหญ่แม้จะมีจำนวนเยาวชนเสี่ยงซึมเศร้าลดลงเมื่อคลายล็อกดาวน์  แต่กลับเพิ่มขึ้นมาอีกเพราะการเรียนเป็นสาเหตุหลัก  ไม่ว่าจะเป็นการเรียนแบบออนไซต์  ออนไลน์  ช่วงปิดเทอม  หรือเปิดเทอมก็ตาม

              ครอบครัวคือฐานสำคัญในการดูแลจิตใจเยาวชน  โดยผลสำรวจพบว่ากลุ่มที่สนิทกับครอบครัวมากที่สุดจะมีความเครียดน้อยกว่ากลุ่มอื่น

              บริการดูแลสุขภาพจิตยังมีความเหลื่อมล้ำสูงในสังคมไทย  ส่งผลให้เยาวชนมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าและฆ่าตัวตายจากการไม่ได้รับการติดตามอาการ  เพราะสถานพยาบาลที่มีจิตแพทย์มีเพียง  177  แห่งทั่วประเทศ  และกระจุกตัวอยู่ใน  กทม.  ถึง  77%

ประเด็นที่ 5  ความรุนแรง

              เด็กและเยาวชนตกเป็นเหยื่อความรุนแรงมากขึ้นโดยส่วนใหญ่อยู่ในชีวิตประจำวันโดยเพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าในรอบเจ็ดปีที่ผ่านมา

              สาเหตุอันดับแรกมาจากการล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งเป็นความรุนแรงที่มองเห็นได้ยาก  ในเด็กอายุต่ำกว่าสิบขวบถูกทำร้ายรุนแรงที่สุด โดยการถูกทำร้ายร่างกาย และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมาจากการถูกทำร้ายทางเพศ

              นอกจากนั้น  ยังพบว่ามีการใช้ความรุนแรงจากการถูกคุกคามทางเพศผ่านทางออนไลน์เป็นจำนวนมากที่สุด

ประเด็นที่ 6 ความฝันถึงสังคมใหม่ อันเป็นผลจากการตื่นตัวทางการเมือง

          เยาวชนแต่ละช่วงวัย และแต่ละกลุ่มฝันถึงสังคมหลากหลายแนวทาง  แต่มีหลักการร่วมกันใน  3  เรื่องใหญ่คือ เรื่องการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพทางความ               คิด การทลายระบอบอุปถัมภ์ และการใช้เส้นสายแก้ปัญหาทุจริต  สุดท้ายคือเรื่องปฏิรูปเศรษฐกิจให้ทุกคนอยู่ดีกินดี  มีโอกาสเสมอกัน

          เยาวชนกลุ่มต่างกัน ให้คำนิยามของคำว่า  ชาติ  ต่างกันไปด้วย บางกลุ่มให้น้ำหนักกับความรู้สึกภูมิใจที่เกิดเป็นคนไทย  และการเห็นวัฒนธรรมไทยว่าดีกว่าวัฒนธรรมอื่น  นอกจากนั้นยังมีความต่างกันในเรื่องการยกระดับสิทธิความเสมอภาคด้านเพศสภาพและครอบครัว

              เรื่องจินตนาการพลเมืองเยาวชน พบว่า เยาวชนให้ความสำคัญกับการพัฒนาเรื่องระบบสวัสดิการ  บริการสาธารณะ  การมีศึกษาที่มีคุณภาพเท่าเทียม  เปิดกว้าง  และการมีพื้นที่และระบบสาธารณะ  ที่ครอบคลุมปลอดภัยรวดเร็ว  ราคาถูก โดยจินตนาการเรื่องความเปลี่ยนแปลงนั้น  มองว่าต้องเป็นไปตามกระบวนการที่ชอบธรรมยั่งยืน  ไม่ใช่การเกิดจากการกระทำของคนดี  คนวิเศษ

              สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของผลการสำรวจ โดยดาวน์โหลดเอกสารที่นี่ https://kidforkids.org/child-family-situation-report-2023-launch/

Shares:
QR Code :
QR Code