











ข่าวภาคีเครือข่าย
ภาคีเครือข่าย พัฒนาระบบการให้คำปรึกษาและกลไกพัฒนาศักยภาพ
ทำความรู้จักกับการใช้ศิลปะและงานฝีมือ กับการส่งเสริมพัฒนาเด็กปฐมวัย
ทำความรู้จักกับการใช้ศิลปะและงานฝีมือ กับการส่งเสริมพัฒนาเด็กปฐมวัย ศิลปะและงานฝีมือเป็นส่วนสำคัญของการศึกษาปฐมวัย การเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์สามารถส่งเสริมจินตนาการตามธรรมชาติของเด็ก และยังช่วยให้พัฒนาทักษะชีวิตที่จำเป็นอื่นๆ ที่จะคงอยู่กับพวกเขาไปอีกหลายปี ศิลปะและงานฝีมือทำให้เกิดความสนุกสนาน เป็นวิธีที่สร้างการโต้ตอบให้กับเด็กๆ ในการฝึกสิ่งต่างๆ ได้ดี เช่น ทักษะการเคลื่อนไหวและความสามารถในการแก้ปัญหา ยกตัวอย่าง ก่อนที่จะเรียนรู้วิธีใช้เครื่องมือขั้นสูง เช่น ไขควงและค้อน เด็กหลายคนค้นพบความรักในการก่อสร้างและการออกแบบผ่านการปั้นแป้งโดว์แบบง่ายๆ มาแล้วทั้งนั้น กิจกรรมศิลปะและงานฝีมือสามารถช่วยให้เด็กๆ พัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญหลายประการ ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ การแสดงออกถึงความเป็นตัวของตัวเอง ความมั่นใจและความเป็นอิสระ พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก การแก้ปัญหา การทำงานประสานมือและตา ทักษะทางสังคม การคิดอย่างมีวิจารณญาณ สิ่งสำคัญที่ผู้สอนต้องจำไว้ คือ รูปแบบการเรียนรู้ของเด็กทุกคนและการพัฒนาที่รวดเร็วจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป้าหมายในการสอนเรื่องศิลปะและงานมือให้กับเด็ก จึงเป็นจุดเริ่มต้น เพื่อให้ผู้ดูแลเด็กได้เลือกกิจกรรมที่มีพัฒนาการเหมาะสมกับช่วงวัยของเด็กแต่ละคน กิจกรรมศิลปะประสาทสัมผัสสำหรับเด็กอายุ 1-5 ปี การเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัสอาจเป็นกิจกรรมใดๆ ก็ตามที่กระตุ้นประสาทสัมผัสของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นกลิ่น รส สัมผัส เสียง หรือการมองเห็น เมื่อคุณรวมการเล่นประสาทสัมผัสเข้ากับกิจกรรมศิลปะ เด็กๆ จะสัมผัสกับพื้นผิว กลิ่น เสียง และสถานการณ์ใหม่ๆ โดยไม่มีความคิดหรือความคาดหวังใดๆ มาก่อน กิจกรรมเหล่านี้จะทำให้เด็กสามารถพัฒนาการเชื่อมโยงเชิงบวกกับวัสดุต่างๆ และข้อมูลทางประสาทสัมผัสใหม่ๆ ได้อย่างเป็นธรรมชาติ ฝึกระบายสี จากวัสดุต่างๆ ใช้ชอล์กขีดเขียนพื้น ตั้งวงดนตรีจากของใช้ในบ้าน (ชาม ช้อน หลอด กะละมัง ฝาหม้อ ฯลฯ) ฝึกจับคู่สีด้วยไม้หนีบผ้า กิจกรรมศิลปะและงานฝีมือสำหรับเด็กอายุ 6-8 ปี เมื่อเด็กๆ เริ่มพัฒนาความเข้าใจที่มากขึ้นเกี่ยวกับแนวคิดทางศิลปะ เช่น สี รูปร่าง และลวดลาย พวกเขาก็มีอิสระในการสร้างสรรค์มากขึ้นเช่นกัน เด็กจะเริ่มคิดหาวิธีการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง และเรียนรู้วิธีใช้เครื่องมือและวัสดุศิลปะที่ซับซ้อนมากขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ เช่น กิจกรรมประดิษฐ์ของเล่นจากของเหลือใช้ ประดิษฐ์ศิลปะจากแผ่นฟอยล์กันความร้อน กระดาษสี กระดาษหนังสือพิมพ์ แผงไข่ ทำว่าวเล่นด้วยตัวเอง งานประดิษฐ์จากกระดาษสี จิ๊กซอว์กระดาษ แม้ว่าวัยนี้ยังต้องการคำแนะนำและการควบคุมดูแล แต่การให้เด็กๆ มีเวลาว่างในการเล่นและสร้างสรรค์ผลงานจะช่วยกระตุ้นให้พวกเขาทดลองและใช้ไหวพริบ นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้เรียนรู้วิธีใช้เครื่องมือใหม่ๆ อย่างมั่นใจ และใช้ทักษะการแก้ปัญหาเพื่อบรรลุงานที่ซับซ้อนมากขึ้น กิจกรรมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์สำหรับเด็กอายุ 9-12 ปีขึ้นไป โครงการศิลปะและงานฝีมือที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นสามารถเป็นเครื่องมือการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ที่ยอดเยี่ยม นอกเหนือจากการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์แล้ว โครงการศิลปะเหล่านี้ยังสามารถรวมการเรียนรู้สาขาอื่นๆ เข้าด้วยกัน เช่น วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ และอื่นๆ อีกมากมาย ด้วยการรวมวิชาเหล่านี้เข้ากับศิลปะ เด็กๆ สามารถพัฒนาความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นในแต่ละรายการ และค้นพบวิธีใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ประดิษฐ์งานศิลปะจากธรรมชาติ (ดอกไม้ ใบไม้) ประดิษฐ์รถแข่งจากแกนทิชชู รถของเล่นจากไม้หนีบผ้า ของเล่นจากถ้วยกระดาษ หุ่นยนตร์ขวดน้ำ
ชุดความรู้และเครื่องมือพร้อมใช้
รวบรวมข้อมูลพื้นที่เรียนรู้สุขภาวะที่กระจายทั่วประเทศ พร้อมให้ได้เรียนรู้
พื้นที่/นำร่อง/และศูนย์เรียนรู้ ล่าสุด
แหล่งเรียนรู้ที่น่าสนใจทางกายภาพและบริบทสิ่งแวดล้อมจะส่งเสริมการมีสุขภาวะที่ดีช่วยสร้างประโยชน์กับประชาชน
น่านสร้างสุข ปลูกพลังบวกเด็กปฐมวัยภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยง
เรื่องโดย : พงศ์ศุลี จีระวัฒนรักษ์ Team Content www.thaihealth.or.th ข้อมูลจาก : งานกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “น่านสร้างสุข model” (ปลูกพลังบวกเด็กปฐมวัยภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยง และเสริมพลังการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยชุมชนลดปัจจัยเสี่ยง) 27 ตุลาคม 2566 ณ อ.เวียงสา จ.น่าน น่านสร้างสุข ปลูกพลังบวกเด็กปฐมวัยภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยง “…หากคาดหวังจะให้เด็กมีภูมิคุ้มกันจากปัจจัยเสี่ยง ต้องมีการปลูกฝังพฤติกรรมพลังบวกด้วยการสร้างจิตสำนึก ตั้งแต่อายุก่อน 7 ปี ปลูกพลังบวกเด็กปฐมวัย 3-5 ปี ซึ่งเป็นช่วงโอกาสทองของการพัฒนาด้านสมองและการเรียนรู้ เป็นวัยที่มีความกระตือรือร้นและมีความสามารถในการเรียนรู้ทุกสิ่ง” นพ.พงษ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ สสส. กล่าวในช่วงตอนหนึ่งของกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “น่านสร้างสุข model” ณ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านส้าน อ.เวียงสา จ.น่าน เมื่อช่วงปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 พบว่าสถานการณ์การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนมีความรุนแรง ด้วยมองการดื่มเป็นเรื่องปกติ และพบคนดื่มสูงสุดเกินกว่า 28% ของประชากรในพื้นที่ โดยจังหวัดน่าน อยู่ใน 10 อันดับสูงสุดของประเทศต่อเนื่องยาวนาน ตามด้วย จ.แพร่ จ.เชียงราย จ.พะเยา ด้วยปัจจัยบริบททางสังคมวิถีชีวิต ภูมิเศรษฐศาสตร์ จากปัญหาดังกล่าว สสส. จึงร่วมกับ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) และ เครือข่ายครูเกษียณ ขับเคลื่อน“น่านสร้างสุข model” ปฏิบัติการงดเหล้า ลดปัจจัยเสี่ยง 360 องศา ตั้งแต่เด็กปฐมวัย เยาวชน และประชาชน สานพลังผ่านบทเรียนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน เสริมองค์ความรู้ พัฒนาทักษะชีวิตในเด็กปฐมวัย โดยเฉพาะในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จ.น่าน 427 แห่ง ผ่านนิทาน เกม การระบายสี รวมถึงถ่ายทอดความรู้ให้ผู้ปกครองฉุกคิดว่าจะเป็นต้นแบบชีวิตที่ดีให้ลูกอย่างไร เปรียบเป็นวัคซีนเข็มแรก นำไปสู่การป้องกันที่ยั่งยืนต่อไป นพ.พงษ์เทพ กล่าว “น่านสร้างสุข Model ดำเนินการมาแล้ว 3 ปี ขยายผลการทำงานไปแล้ว 35 จังหวัดทั่วประเทศ โดยทำงานร่วมกับเครือข่ายครูเกษียณ จากผลการทำงาน ชี้ให้เห็นว่าเด็กปฐมวัยมีทักษะชีวิตเพิ่มขึ้น 95% ทั้งนี้ จะขยายผลการทำงานให้ครอบคลุมทั่วประเทศต่อไป” นพ.พงษ์เทพ กล่าวเสริม ก่อนหน้านี้ สสส. สนับสนุนโครงการปลูกพลังบวกเพื่อสร้างจิตสำนึกภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยง (เหล้า บุหรี่) สำหรับเด็กปฐมวัย โดยร่วมกับ สคล. ตั้งแต่ปี 2560 โดยเน้นการพัฒนาทักษะชีวิตแก่เด็กปฐมวัย ปลูกฝังให้ความรู้เกี่ยวกับอันตราย โทษของบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ตลอดจนการพัฒนาทักษะการสอนของครู ผู้ดูแลเด็ก ให้มีทักษะการสอน พัฒนานวัตกรรมสื่อการสื่อที่เหมาะกับเด็กเล็ก ดำเนินการใน 4 จังหวัด 4 คือ น่าน ศรีษะเกษ ราชบุรี ชุมพร ปัจจุบันมีสถานศึกษาเข้าร่วม 2,800 แห่งทุกสังกัดการศึกษา จากการสังเกตพฤติของเด็กปฐมวัยหลังเข้าโครงการ พบว่า เด็กปฐมวัยอายุต่ำกว่า 3 ปี ผ่านเกณฑ์ประเมินมีทักษะชีวิต 95.77% เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 1 และ 2 (อายุ 3-5 ปี) ผ่านเกณฑ์ประเมิน 94.68% เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 (อายุ…
เกี่ยวกับสำนัก 4
สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว (สำนัก 4)
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่ออนไลน์สำหรับสื่อสารเรื่องเล่าและแนวทางในการปฏิบัติงานเพื่อมุ่งสร้างเสริมสุขภาพกลุ่มประชากรวัยเด็กและเยาวชน ซึ่งถือเป็นวัยแห่งการสร้างฐานทุนสุขภาพตลอดช่วงชีวิต (Lifelong health) ของภาคีเครือข่ายที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักฯ

จากบล็อกของภาคี
ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

บทความ สาระน่ารู้ มีประโยชน์
สื่อการเรียนรู้
ใหม่จากภาคีสร้างสรรค์โอกาส
