4 เทคนิคสำคัญในการทำงานระดับจังหวัด “บูรณาการภารกิจร่วมเพื่อสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว”
We Talk วงคุยคนทำงานด้านเด็ก เยาวชนและครอบครัว “New Gen เป็นไปได้”
วันที่ 8 – 9 เมษายน 2566 โครงการติ
การประเมินผลความพึงพอใจต่อการอบรม พบว่าผู้เข้าร่วมอบรม รู้สึกผ่อนคลาย สนุก ประทับใจ ได้เพื่อนใหม่ กิจกรรมเรียบง่าย แต่ทรงพลัง บรรยากาศเป็นกันเอง ทำให้กล้าแสดงความคิดเห็น ได้เรียนรู้ ได้แชร์ประสบการณ์ แลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ คนรุ่นใหม่ ได้เห็นมุมมองคนทำงานเด็ก เยาวชน และครอบครัว ทบทวนเป้าและตัวเอง รู้จักมุมมองแนวคิดคนใหม่ๆ ได้มีโอกาสได้ทดลองทำและเสนอความคิดเห็น การทำงานในฐานะภาคประชาสังคม ทั้งเชิงพื้นที่ และนอกพื้นที่ เทคนิคต่างๆ ที่ใช้ได้ในการจัดการหน้างานและชีวิตตัวเอง คำตอบจากประสบการณ์ของพี่ๆน้องๆ ที่ช่วยแบ่งปันหาทางออกให้กับปัญหาที่พบเจอ กระบวนการสนุกๆก็เอาไปทดลองปรับใช้ได้ สิ่งที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ การเข้าใจความแตกต่างของ Gen ในองค์กร การสื่อสาร เพื่อให้งานออกมาสมบูรณ์ อำนาจภายใน เสริมความมั่นใจ ภายในตัวเองในการต่อรองหาตรงกลางกับเพื่อนร่วมงาน ทั้งภายในและภายนอก
4 เทคนิคสำคัญในการทำงานระดับจังหวัด “บูรณาการภารกิจร่วมเพื่อสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว”
1. สร้างความโดดเด่นของงาน สร้างความประทับใจให้ฝ่ายบริหาร
หากอยู่ในจังหวัด หัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรา เช่น พมจ.หรือผู้ว่าราชการจังหวัดที่กำกับดูแลมีบทบาทสำคัญมากในการสนับสนุนให้งานมีความโดดเด่นหรือสามารถขับเคลื่อนได้ เป็นแรงส่งที่ดีเพราะเป็นผู้กำหนดนโยบาย กำหนดทิศทางการขับเคลื่อนงานในจังหวัด
สังเกตได้จากบางโครงการที่มีการทำงานดี ผลลัพธ์ดีแต่ไม่สามารถขยายผลหรือต่อยอดงานได้เพราะเป็นงานที่ทำตลอดเวลาและคณะทำงานไม่มีแรงหนุนชูประเด็นให้ผู้บริหารได้รับรู้หรือสนใจ ส่งผลให้ไม่สามารถขยายผลทั้งจังหวัดได้
2. ทำความเข้าใจสไตล์การทำงาน มุมมอง และความสนใจของหัวหน้าหน่วยราชการและนำเสนอในที่ประชุม
เพราะมีโอกาสในการนำเสนองานหรือสร้างประเด็นให้กับคณะกรรมการจังหวัดได้มากกว่า ควรเรียนรู้รูปแบบการทำงานและประเด็นที่ผู้บริหารจังหวัด/หัวหน้าหน่วยงานสนใจเพื่อดึงความสนใจเป็นการสร้างเสน่ห์ในการนำเสนองาน
เช่น งานด้านสังคม ปัจจุบันงบประมาณในจังหวัดมีการกำหนดสัดส่วนงบประมาณในการดูแลด้านสังคมมากขึ้น มุมมองของผู้บริหารเป็นแบบไหนก็นำเสนองานนั้น งานสังคมไม่มีเหลี่ยมเป็นงานกลมๆ หมุนมุมไหนก็เจอแต่ต้องเลือกมุมที่อยู่ในสายตาผู้บริหารจึงจะเกิดความสนใจ
3. การใช้กลไกของอนุกรรมการและคณะกรรมการจังหวัดให้เกิดประโยชน์
เพราะมีหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องอยู่ในส่วนนั้น ไม่แยกส่วนการทำงาน เพราะปัญหาของสังคมไม่สามารถแก้ไขด้วยคณะกรรมการชุดใดชุดหนึ่ง
4. มีสถานการณ์ข้อมูลในจังหวัดที่ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน
เก็บข้อมูลที่สำคัญในด้านเด็ก เยาวชนและครอบครัวแม้ไม่ได้รับคำสั่งจากทางการ หากมีวาระที่สอดคล้องในที่ประชุมสามารถนำเสนอได้ทันที ปรับข้อมูลให้มีความเฉียบคม มีมุมมองของการพัฒนาและมีวิชาการ สร้างความประทับใจกับผู้ว่าราชการจังหวัด และรองผู้ว่าราชการจังหวัด ให้เห็นศักยภาพของคณะทำงานจังหวัดว่ามีความสามารถในการทำงานจังหวัดให้สำเร็จได้ สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดได้ เกิดความเชื่อถือ ความเชื่อมั่นในการทำงานด้านสังคม เห็นว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้การทำงานจังหวัดบรรลุเป้าหมาย