30 ตำบลต้นแบบการมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชนร่วมโชว์นวัตกรรมในงานมหกรรม “FUTURE IS NOW ท้องถิ่นของคนรุ่นใหม่” บนแนวคิด เด็กนำ ผู้ใหญ่หนุน

2 ปีของการดำเนินโครงการตำบลต้นแบบสร้างการเรียนรู้ด้านการมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชน (2564 – 2566)  ที่มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศเข้าร่วม 30 แห่ง มีผู้บริหารท้องถิ่นร่วมวางแผนและนโยบายด้านสภาเด็กและเยาวชน มีคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 300 คน มีบุคลากรท้องถิ่นได้รับการพัฒนาศักยภาพในภาคปฏิบัติและผ่านการฝึกอบรมทางออนไลน์ จำนวน 113 คน เด็กและเยาวชนได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการฯ กว่า 900 คน  

คนเหล่านี้ร่วมกันทำงานภายใต้ระบบสนับสนุนสภาเด็กและเยาวชนในท้องถิ่น จนพัฒนาสู่การเป็นตำบลต้นแบบด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชน ให้สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้  และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้องค์กรปกครอง สวนท้องถิ่นที่สนใจศึกษางานด้านสภาเด็กและเยาวชน

ก่อนจะพัฒนาจนเป็น 30 ตำบลต้นแบบ ทั้งผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลเทศบาลตำบล และบุคลากรในท้องถิ่นทั้งภาคประชาชนและภาคเอกชนต่างมีส่วนร่วมกับสมาชิกสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบล เพื่อให้ท้องถิ่นเกิดการเปลี่ยนแปลง ด้วยแนวคิดที่เรียกว่า 6+1 ประกอบด้วย

  1. การมีแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนตำบลบรรจุกิจกรรมหรือโครงการเด็กไว้ในเทศบัญญัติ
  2. จัดสรรพื้นที่ทำงานสำหรับเด็ก ด้วยศูนย์ประสานงานเด็กและเยาวชน
  3. จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาเด็กและเยาวชนตำบล (กดยต.)
  4. การใช้ต้นทุนชุมชน ทรัพยากร ภูมิปัญญา และวัฒนธรรม
  5. มีฐานข้อมูลเด็กและเยาวชน เก็บข้อมูลสถานการณ์เด็กและเยาวชนรายปี
  6. สร้างกองทุนคนรุ่นใหม่ หารายได้เพื่อนำมาทำกิจกรรม

และ +1 คือการพัฒนานวัตกรรมของตนเอง 

หัวใจสำคัญของการดำเนินโครงการตำบลต้นแบบสร้างการเรียนรู้ด้านการมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชน  คือการให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการส่งเสียง สะท้อนปัญหา มีส่วนร่วมออกแบบนโยบายแก้ไขปัญหาในชุมชน เพื่อสร้างท้องถิ่นแห่งอนาคต จนเกิดเป็นนวตกรรมระดับตำบลที่มีหลากหลาย และนำมาสู่ งานมหกรรม Future is Now ท้องถิ่นของคนรุ่นใหม่ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 ณ อุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 

     จุดเด่นของการจัดงานครั้งนี้คือการที่ทั้ง 30 ตำบลต้นแบบนำเสนอผลงานที่เกิดจากแต่ละตำบลได้พัฒนานวตกรรมของตนเองผ่านแนวคิด 6+1 เช่น สภาเด็กและเยาวชน เทศบาลตำบลเขาพระงาม  อ.เมือง จ.ลพบุรี กับนวตกรรม จอดไหนใส่ใจเด้อ การออกแบบสัญลักษณ์และป้ายเตือนสร้างวินัย ป้ายแนะนำที่จอดรถเพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณหน้าตลาดเสาธง สภาเด็กและเยาวชนตำบลเขื่อนผาก จังหวัดเชียงใหม่ กับการขายผลิตภัณฑ์ที่ตั้งชื่อว่า หอมฉุย ยาดม ซึ่งสภาเด็กฯ ได้นำสูตรยาดมโบราณอันเป็นต้นทุนจากภูมิปัญญาท้องถิ่นมาต่อยอด แล้วทำการตลาดเป็นของชำร่วยในงานต่างๆ

นอกจากนั้น ในงานยังมีการจัดพิธีมอบโล่รางวัลเชิดชูเกียรติตำบลต้นแบบสร้างการเรียนรู้ด้านการมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 30 แห่ง ที่เข้าร่วมโครงการตำบลต้นแบบด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชน โดยรองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นายทวี เสริมภักดีกุล เป็นประธานในพิธี

โครงการตำบลต้นแบบสร้างการเรียนรู้ด้านการมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชน ดำเนินงานโดยมูลนิธินวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม ได้รับความร่วมมือจากกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว (สำนัก 4) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

รายชื่อ 30 ตำบลต้นแบบสร้างการเรียนรู้ด้านการมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชนที่ได้รับรางวัลและร่วมออกบูธนำเสนอนวัตกรรมที่เกิดจาก 6+! 

ภาคกลาง 

เทศบาลตำบลเขาพระงาม ลพบุรี  

นวัตกรรมเกี่ยวกับการผลิตสื่อวิดิโอสร้างสรรค์ด้วยเยาวชน: สื่อสารความเป็นพื้นที่

องค์การบริหารส่วนตำบลลานารายณ์ ลพบุรี

นวัตกรรมเกี่ยวกับเรื่องตBนทุนสมุไพรในพื้นที่ที่ให้เด็กและเยาวชนเข้ามาเรียนรู้และใช้

ประโยชน์

องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งสมอ กาญจนบุรี 

นวัตกรรมนิทรรศการสื่อสารความในใจของวัยรุ่นไปสู่ผู้ปกครองเพื่อเสรริมสร้างความ

เข้าใจระหว่างเด็ก เยาวชนและผู้ปกครอง

เทศบาลตำบลบ้านคา ราชบุรี 

นวัตกรรรมนิทรรศการรอยยิ้มที่เศร้าที่สุด : การรับมือกับโรคซึมเศร้าของวัยรุ่น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

องค์การบริหารส่วนตำบลดอน นครราชสีมา 

นวัตกรรมเกี่ยวกับนิทรรศการความหลากหลายทางเพศโดยเชื่อมโยงกับกลุ่มเด็กและเยาวชนกลุ่มอื่น ๆในพื้นที่

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสนิท สุรินทร์ 

นวัตกรรมเกี่ยวกับจิตอาสาและการกู้ชีพความรู้พื้นฐานในการกู้ชีวิตเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

องค์การบริหารส่วนตำบลคาสะอาด สุรินทร์

นวัตกรรมเกี่ยวกับศิลปะบําบัดในทุกช่วงวัยโดยใช้ศิลปะรู้จักตัวตนและร่วมพูดคุยค้นหาตัวตนนั้นผ่านการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันและกันของเด็กและเยาวชน

เทศบาลตำบลอากาศอำนวย สกลนคร

นวัตกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนในพื้นที่เพื่อสร้างแกนนําเด็กในรุ่นต่อไป

เทศบาลตำบลงิ้วด่อน กาฬสินธุ์

นวัตกรรมเกี่ยวกับต้นทุนชุมชนและนําต้นทุนชุมชนนั้นมาทําเกลือสปาเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

เทศบาลตำบลคำม่วง กาฬสินธุ์

นวัตกรรมเกี่ยวกับพื้นที่เรียนรู้และค้นพบตัวเองและเรียนรู้เกี่ยวกับต้นทุนชุมชนโดย

การนําต้นทุนชุมมชนนั้นมาใช้ปะโยชน์

เทศบาลตำบลอุ่มเม่า กาฬสินธุ์ 

นวัตกรรมเกี่ยวกับพื้นที่เรียนรู้เพื่อให้คําปรึกษาในการสร้างโอกาสการเรียนต่อของสภาเด็กและเยาวชน

เทศบาลตำบลท่าคันโท  กาฬสินธุ์

นวัตกรรมเกี่ยวกับการอบรมให้กับกลุ่มแกนนําสภาเด็กและเยาวชนและการทําให้กลุ่มแกนนําร่วมกับชุมชนเป็นพื้นที่สนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศมากขึ้น

เทศบาลตำบลนาหว้า ขอนแก่น

นวัตกรรมเกี่ยวกับการแก้ไขปnญหาและให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่นและสนับสนุนให้คุณแม่วัยใสยังสามารถอยู่ในสังคมได้

องค์การบริหารส่วนตำบลเขาไร่ มหาสารคาม 

นวัตกรรมเกี่ยวกับสุขภาวะทางใจที่ให้ความรู้ผ่านบอร์ดเกี่ยวกับสุขภาพจิตในพื้นที่และจัด

กิจกรรมในศูนย์ประสานงานเด็กและเยาวชน

ภาคเหนือ

เทศบาลตำบลป่าแดด เชียงใหม่

นวัตกรรมเกี่ยวกับความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อเด็กและเยาวชนส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจระหว่างเด็ก เยาวชนและผู้ปกครอง

องค์การบริหารส่วนตำบลเขื่อนผาก เชียงใหม่ 

นวัตกรรมบอร์ดเกมเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศของเด็กและเยาวชน

เทศบาลตำบลพุเตย เพชรบูรณ์ 

นวัตกรรมเกี่ยวกับการเยี่ยมบ้านเด็กและเยาวชนในพื้นที่ ถามความต้องการและปัญหา

ที่เทศบาลที่สามารถสนับสนุนได้

องค์การบริหารส่วนตำบลศรีเมืองชุม เชียงราย 

เทศบาลตำบลป่าตาล เชียงราย

นวัตกรรมเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศของเด็กและเยาวชนในพื้นที่

เทศบาลตำบลโรงช้าง เชียงราย

นวัตกรรรมเกี่ยวกับเพลงเพื่อสนับสนุนสุขภาวะทางเพศ

เทศบาลตำบลแม่สาย เชียงราย 

นวัตกรรมเกี่ยวกับ ลานกิจกรรมเพื่อปลดปล่อยความต้องการหรือทํากิจกรรมสร้างสรรค์ของเด็กและเยาวชน

เทศบาลตำบลหาดเสี้ยว สุโขทัย 

นวัตกรรมบอร์ดเกมเกี่ยวกับต้นทุนในชุมชนของพื้นที่

องค์การบริหารส่วนตำบลวัดขวาง พิจิตร 

นวัตกรรมเกี่ยวกับกิจกรรมศิลปะบําบัด ผ่านการพูดคุยกันและกันของเด็กและเยาวชนหรือผู้ที่เคยมีประสบการณ์

องค์การบริหารส่วนตำบลดงเจน พะเยา 

นวัตกรรมเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศและครอบครัวที่มีเด็กและเยาวชนที่มีความ

หลากหลายทางเพศเป็นสมาชิกในครอบครัว

เทศบาลตำบลป่าสัก ลำพูน 

นวัตกรรมเกี่ยวกับ “กล่องปัญหา” และนําปัญหานั้นไปคุยกับคนที่เกี่ยวขBอง

เทศบาลตําบลศรีเตี้ย ลําพูน

นวัตกรรมเกี่ยวกับดนตรีบําบัดที่เชื่อมโยงระหว่างวัยรุ่นและผู้สูงอายุ

ภาคใต้ 

องค์การบริหารส่วนตำบลกะดุนง ปัตตานี 

นวัตกรรมประเด็นเกี่ยวกับการสร้างรายได้ให้แก่เด็กและเยาวชนในพื้นที่โดยใช้ต้นทุนใน

พื้นที่

 องค์การบริหารส่วนตำบลยะหา ยะลา 

นวัตกรรมประเด็นเกี่ยวกับการสร้างรายได้ให้แก่เด็กและเยาวชนในพื้นที่โดยใช้ต้นทุนใน

พื้นที่

องค์การบริหารส่วนตำบลลาทับ กระบี่

นวัตกรรมการสร้างการรยอมรับเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศ

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน ตรัง 

นวัตกรรมเกี่ยวกับความเครียดของวัยรุ่นในพื้นที่

องค์การบริหารส่วนตำบลบางรัก ตรัง

นวัตกรรมเกี่ยวกับสุขภาวะทางปัญญาการจัดการความเครียดในตนเองของวัยรุ่น

Shares:
QR Code :
QR Code