แนวทางการสร้างวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) เพื่อรับมือกับโรคติดต่อที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
การดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะสนับสนุนระบบบริการสุขภาพในการรับมือและเตรียมความพร้อมต่อโรคติดต่อ หรือโรคติดเชื้อ ด้วยกระบวนการเพิ่มขีดความสามารถแก่บุคคลในการควบคุมและปรับสุขภาพของตนเองให้ดีขึ้น รวมทั้งการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดีในระดับยั่งยืนผ่านการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน การพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่ทันต่อสถานการณ์ การสร้างกลไกเฝ้า
บุคคล |
สังคม สิ่งแวดล้อม |
|
สุขอนามัย |
|
|
ภูมิคุ้มกัน/ป้องกัน |
|
|
ระวังของภาคประชาชนร่วมกับระบบบริการสุขภาพ ด้วยการระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และการสนับสนุนด้านองค์ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการดึงคุณลักษณะพิเศษของงานสร้างเสริมสุขภาพที่ใช้รับมือกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Disease: NCDs) มาประยุกต์ใช้กับการรับมือกับโรคติดเชื้ออย่างโควิด-19 และสามารถนำไปปรับใช้กับโรคติดต่อที่อาจจะเกิดการแพร่ระบาดขึ้นได้ในอนาคต
*บทเรียนการดำเนินการของสานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในการร่วมแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) จัดทำโดยสำนักวิชาการและนวัตกรรม (สวน.) และกลุ่มงานต่างประเทศ สำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ (สภส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กันยายน 2563