สัญญาณอันตราย พัฒนาการเด็กที่ต้องติดตามเฝ้าระวัง

             ขณะที่ประเทศไทยมีจำนวนเด็กเกิดใหม่ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง จากปี 2526 มีเด็กเกิดใหม่ปีละกว่า 1 ล้านคน ในปี 2565 ลดลงกว่าครึ่งเหลือ 502,107 คน โดยมีแนวโน้มลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง และอาจต่ำกว่าปีละ 500,000 แสน

พัฒนาการเด็กไทย ด้านภาษาล่าช้าสูงขึ้น

             แต่สถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย จากการสำรวจพัฒนาการเด็กปฐมวัย เพื่อติดตามเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยใช้เครื่องมือ Denver II ซึ่งเป็นเครื่องมือคัดกรองพัฒนาการเด็กมาตรฐานสากล ดำเนินการโดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) พบว่า สถานการณ์ด้านพัฒนาการเด็กปฐมวัย (0-5 ปี) ในปี 2566 (ตุลาคม 2565- กันยายน 2566)

             • เด็กปฐมวัยได้รับการคัดกรองพัฒนาการ (ความครอบคลุมในการคัดกรอง) เท่ากับ 82.1 %

             • เด็กที่ติดตาม ได้ภายใน 30 วัน เท่ากับ 89.2 %

             • เด็กมีพัฒนาการสงสัยล่าช้า 22.5 %

             • ส่วนใหญ่เด็กมีพัฒนาการ ทางภาษาล่าช้า ทั้งการใช้ภาษาและการเข้าใจภาษา

             จากผลการคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัย ตลอด 5 ปี (2562-2566) พบว่าแนวโน้มพัฒนาการด้านภาษาล่าช้าสูงขึ้นทุกปี ในปี 2566 พบเด็กมีพัฒนาการด้านภาษาล่าช้าด้านการเข้าใจภาษา (Receptive language) สูงถึง 60.9 % และพัฒนาการด้านภาษาล่าช้าด้านการใช้ภาษา (Expressive language) สูงถึง 74.8 %

พัฒนาการเด็ก ที่ต้องเฝ้าระวัง 2 เดือน-5ปี

             สำนักความรอบรู้สุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต แนะนำ พัฒนาการเด็กที่ต้องติดตามเฝ้าระวัง (Red Flags in Child Development) ในเด็กอายุ 2 เดือน – 5 ปี ตามแต่ละช่วงวัย เนื่องจากเป็นสัญญาณเตือนหรือสัญญาณอันตราย บอกว่าให้เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด และให้รีบส่งต่อเพื่อการตรวจประเมินวินิจฉัยและบำบัดรักษา

อายุ 2 เดือน

             1. คว่ำได้ (ก่อน 3 เดือน) มีปัญหากล้ามเนื้อ

             2 แข็งเกร็ง

             2. ยังไม่จ้องหน้าสบตาอาจมีความผิดปกติ

4 เดือน

             1. ท่านั่งยังไม่สามารถชันคอหันซ้ายขวาได้ดี อาจเป็นจากกล้ามเนื้ออ่อนแรง

             2. มือกำตลอดเวลา จากปัญหากล้ามเนื้อเกร็งผิดปกติ

             3. ยังไม่มองตามใบหน้าหรือวัตถุ

             4. ไม่ตอบสนองต่อเสียงที่ได้ยิน

6 เดือน

             1. ไม่พลิกคว่ำหงาย อาจมีปัญหาระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อ

             2. ยังนั่งโดยช่วยพยุงไม่ได้

             3. ท่านั่งเป็นรูป “W” ขาเหยียดเกร็งเวลาคืบคลาน อาจเกิดปัญหากล้ามเนื้อเกร็งผิดปกติ

             4. ไม่คว้าของ อาจมีความผิดปกติในการมองเห็นกล้ามเนื้อ หรือการรับ (เรียน) รู้

             5. ยังไม่หันหาเสียง ยังไม่ส่งเสียง อาจมีความผิดปกติในการได้ยิน

             6. ไม่ยิ้มหัวเราะอาจมีปัญหาการมองเห็นความผูกพัน มารดาซึมเศร้า

             7. ยังไม่มีการกลัวคนแปลกหน้าอาจเป็นจากมีผู้เลี้ยงดูหลายคน ไม่มีความผูกพันใกล้ชิด

9 เดือน

             1. ยังนั่งเองไม่ได้ ยังเกาะยืนไม่ได้

             2. ยังไม่สามารถใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วอื่นในการหยิบของได้ ยังไม่เปลี่ยนมือถือของ อาจมีปัญหาทางสมอง

             3. ยังไม่หันหาเสียงตามทิศทางของเสียง อาจมีความผิดปกติในการได้ยินข้างใดข้างหนึ่ง

             4. ยังไม่เป่าปากเล่นน้ำลายอาจมีความผิดปกติในการได้ยิน

12 เดือน

             1. ยังเหนี่ยวตัวขึ้น เกาะยืนไม่ได้

             2. ใช้มือข้างเดียวตลอดเวลา อาจมีปัญหาแขนอีกข้างอ่อนแรง

             3. เรียกชื่อแล้วยังไม่หันหาเสียงเรียก

             4. ยังไม่แสดงท่าทางโต้ตอบ เช่น โบกมือ สั่นศีรษะ

18 เดือน

             1. ยังเดินเองไม่ได้

             2. ยังไม่ชี้บอกสิ่งที่ต้องการ หรือไม่ชี้ชวนให้ผู้อื่นดูสิ่งที่สนใจไม่มีการแสดงท่าทางของการโชว์หรืออวดของ

             3. ทำตามคำสั่งง่ายๆ ไม่ได้ อาจมีปัญหาการสื่อสารหรือสังคม

             4. ยังไม่พูดคำเดี่ยวที่มีความหมาย

             5. ไม่สามารถเล่นสมมติได้ ไม่มีความสนใจร่วมหรือชวนคนรอบข้างเล่นด้วย อาจมีปัญหาการพัฒนาทางสังคม เช่น เด็กออทิสติก

ก่อนอายุ 18 เดือน

             1. ใช้มือข้างเดียวตลอดเวลาอาจมีปัญหาแขนอีกข้างอ่อนแรง

2 ปี

             1. ยังเดินถอยหลังและเตะลูกบอลไม่ได้

             2. ยังไม่พูด 2 คำที่มีความหมายต่อกัน(ไม่นับการพูดตาม)

30 เดือน

             1. ยังกระโดด 2 เท้า ไม่ได้

             2. ยังพูดเป็นวลีสั้นๆไม่ได้

3 ปี

             1. ยังขึ้นบันไดสลับเท้าไม่ได้

             2. ยังไม่พูดเป็นประโยคสั้นๆ

             3. ภาษาที่เด็กพูด คนอื่นฟังไม่เข้าใจเป็นส่วนใหญ่ พูดตามโดยไม่มีความหมาย อาจมีปัญหาการเรียนรู้การสื่อสารและสังคม

4 ปี

             1. ยังลงบันไดสลับเท้าไม่ได้

             2. ไม่สามารถเล่าเรื่องสั้นๆให้คนอื่นฟังเข้าใจได้

             3. ไม่รู้จักรอคอยเล่นร่วมกับคนอื่นไม่ได้ เล่นรุนแรงผิดปกติ อยู่ไม่นิ่ง อาจมีปัญหาทางอารมณ์ หรือพฤติกรรมจากการเลี้ยงดู หรือมีภาวะสมาธิสั้น

             4. ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองง่ายๆได้ เช่น ใส่เสื้อผ้า ล้างมือ ควบคุมการถ่ายอุจจาระได้อาจมีปัญหาการเรียนรู้ การเลี้ยงดู หรือสติปัญญาบกพร่อง

พัฒนาการเด็ก 5 ปี

             1. ยังกระโดดขาเดียวไม่ได้ ยังโยนและรับลูกบอลไม่คล่อง

             2. ยังทำตามคำสั่ง 2 ขั้นตอนไม่ได้

และในทุกอายุที่ต้องเฝ้าระวัง

             1. ไม่จ้องหน้าสบตา

             2. ไม่ตอบสนองต่อเสียง

             3. ทักษะด้านต่าง ๆ ถดถอย

อ้างอิงข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ระบุข้อความ