สรุปตัวชี้วัดความเป็นอยู่ของเด็กและสตรีในประเทศไทยที่สำคัญ

สรุปตัวชี้วัดความเป็นอยู่ของเด็กและสตรีในประเทศไทยที่สำคัญ

จากผลการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย (MICS) พ.ศ. 2565

ทำความรู้จักกับโครงการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย (MICS)

              โครงการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย หรือโปรแกรม MICS (Multiple Indicator Cluster Surveys programme) คือแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและสตรีที่มีความน่าเชื่อถือทางสถิติและสามารถใช้เปรียบเทียบในระดับนานาชาติได้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ข้อมูลที่ถูกเก็บผ่านโปรแกรม MICS นี้จะช่วยให้ประเทศต่าง ๆ สามารถวางแผนนโยบายได้ดีขึ้น และสามารถติดตามความคืบหน้าของ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) ได้

              ในประเทศไทย ข้อมูลโปรแกรม MICS ถูกเก็บรวบรวมทั้งในระดับประเทศ รวมถึงจังหวัดต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ โดยเริ่มจัดทำครั้งแรกในปี พ.ศ. 2548 และจัดทำเป็นประจำเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งข้อมูลภาพรวมของประเด็นต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่และพัฒนาการของเด็ก ๆ ในกลุ่มที่เปราะบางที่สุด และในจังหวัดและชุมชนที่ขาดโอกาสเหล่านี้ จะช่วยให้ผู้กำหนดนโยบายสามารถปรับปรุงแผนและนโยบายด้านความเท่าเทียม และมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีเด็กคนใดถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

              อ้างอิงข้อมูลจากประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2566 เรื่องการขับเคลื่อนและพัฒนาเด็กปฐมวัย “ชวนรู้ ชวนเล่น สร้างสรรค์ผ่านนวัตกรรมเด็กปฐมวัย” เพื่อจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย นำไปสู่การขับเคลื่อนและพัฒนาเด็กปฐมวัยของประเทศอย่างเป็นเอกภาพ  วันที่ 24 สิงหาคม 2566 (ช่วงเช้า) โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร

ขอบคุณข้อมูลจาก UNICEF

สามารถดาวน์โหลดรายงานฉบับล่าสุดได้ที่นี่ https://rb.gy/hqq3f

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ระบุข้อความ