ทำความเข้าใจความหมาย “ทีมกลไกชุมชนเพื่อเด็กเยาวชนและครอบครัว” ผ่านหลักคิด “ชุมชนนำ” จากการถอดบทเรียนของ 5 พื้นที่ 

              “พัฒนาการล่าช้า มีภาวะทุพโภชนาการ ไม่ได้รับการดูแลจากผู้ปกครอง ขาดโอกาสทางการศึกษา ไร้ที่อยู่อาศัย ถูกกระทำความรุนแรง ติดยาเสพติด ท้องไม่พร้อมสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาที่เกี่ยวพันกับสุขภาวะที่เกิดขึ้นได้กับเด็กและเยาวชนทุกคนหากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากครอบครัวและสังคม 

              สำนักงานสนับสนุนสุขภาพวะเด็กเยาวชนและครอบครัว (สำนัก 4) สสส. มีบทบาทเชิงรุกร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีสุขภาวะทั้งทางกาย จิตใจ ปัญญา และสังคม รวมทั้งส่งเสริมครอบครัวและชุมชน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศในการเลี้ยงดูเด็กและเยาวชน

              การดำเนินโครงการดังกล่าวเริ่มต้นระยะแรกปี พ.. 2562 และดำเนินการมาต่อเนื่องจนถึงปี พ..2566 ในระยะที่ 3 ใช้หลักคิดชุมชนนำมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับการดูแลและส่งเสริมศักยภาพเติบโตเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งของสังคม

การทำงานของทีมกลไกที่มีหลายภาคส่วนร่วมกัน

              ในปีนี้การดำเนินโครงการเน้นการบูรณาการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพแก่เด็กและเยาวชนโดยอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนและใช้พื้นที่เป็นฐาน เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงการทำงานในพื้นที่ เพื่อพัฒนาพื้นที่ต้นแบบในการขับเคลื่อนสภาวะเด็กเยาวชนและขยายผลต้นแบบชุดความรู้ที่ผ่านการทดสอบแล้ว

              สำหรับพื้นที่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มูลนิธิพัฒนาเครือข่ายสุขภาพ (สำนักงานภาคอีสาน) ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการพัฒนาทีมกลไกชุมชนเพื่อสนับสนุนสุขภาวะเด็กประถมวัยและครอบครัวระยะที่ 3 ใน 5 พื้นที่

              ล่าสุดจึงได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ แนวทางการดำเนินงานโค้ชพี่เลี้ยง โค้ชชุมชน และทีมกลไกชุมชน ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางฯ ของมูลนิธิ ไทยอาทร เพื่อสนับสนุนแนวทางการทำงานของทีมกลไกชุมชน และสรุปผลการดำเนินงานและประเมินภายใน   โดย มูลนิธิพัฒนาเครือข่ายสุขภาพ  (HealthNet) สำนักงานภาคอีสานร่วมกับภาคี ร่วมพัฒนากลไกท้องถิ่น

              กิจกรรมในเวทีถอดบทเรียนมีทั้งทบทวนและทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการประเมินผลโครงการและทบทวนการทำความเข้าใจตัวชี้วัดของโครงการ โดยมีผู้เข้าร่วมจากทั้ง 5 พื้นที่ 4 จังหวัด 5 ตำบลประกบอด้วยโค้ชพี่เลี้ยง โค้ชชุมชน ครู ไปจนถึง อาสาสมัครสาธารณสุขตำบล (อสม.) และอื่นๆ

              สำหรับการทำงานกลไกชุมชนประกอบไปด้วยคณะทำงานทั้งครู  อาสาสมัครสาธารณสุขตำบล  สภาเด็กฯ ตัวแทนกองการศึกษา ตัวแทนจากสำนักปลัด  ผู้นำชุมชน  คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลระดับอำเภอและจังหวัดและพ่อแม่ผู้ปกครองในชุมชน

  กิจกรรมทบทวนผลการดำเนินงานของแต่ละพื้นที่

              ทีมกลไกเหล่านี้ได้รับการพัฒนาจนมีศักยภาพ สามารถร่วมลงพื้นที่เก็บข้อมูล เยี่ยมบ้าน รู้จักใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM)  ให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในเรื่องโภชนาการ  จนถึงการประสานงานให้ความช่วยเหลือหากพบเด็กหรือครอบครัวที่มีปัญหาต่างๆ รวมทั้งจัดกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาสุขภาวะเด็กและเยาวชนตามบริบทแต่ละพื้นที่ ทำให้บางชุมชนให้ความสำคัญกับการเร่งแก้ไขปัญหาท้องไม่พร้อม  ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การป้องกันเชื้อ HIV

              เพื่อให้ทีมกลไกสามารถออกแบบการดำเนินงานได้ตามความเหมาะสม การทำงานกลไกลจึงต้องมีโค้ชชุมชนที่เปรียบเสมือนพี่เลี้ยงดูแลและติตตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย  และยังมีโค้ชพี่เลี้ยงที่ดูแลประสานงาน ให้ความรู้ และหนุนเสริมอีกทอดหนึ่ง 

กิจกรรมเสริมพลังทีมโค้ชและกลไกชุมชน

              รู้จักทีมกลไก เมื่อชุมชนเป็นตัวนำ

              ศักดิ์ชัย ไชยเนตร ผู้ประสานงานโครงการพัฒนาทีมกลไกชุมชนเพื่อสนับสนุนสุขภาวะเด็กปฐมวัยและครอบครัว เล่าถึงแนวทางการคัดเลือกผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจทั้ง 5 ตำบลมาขับเคลื่อนงาน มีองค์ความรู้ มีประสบการณ์ในการทำงานชุมชนเพื่อบริหารจัดการโครงการ เป็นกลไกเข้าไปทำงานในชุมชนได้ โดยในช่วงต้นปีที่ผ่านมาได้ให้แต่ละกลไกชุมชนเลือกพื้นที่ 1 ตำบลเพื่อทดลองดำเนินการก่อน

                “เราให้โจทย์ไปแต่ละชุมชนจะต้องเก็บข้อมูลเด็กจำนวน 100 คน พบเด็กมีปัญหากี่คน สามารถช่วยได้กี่คน ถอดบทเรียนจำนวนเด็ก ถอดบทเรียนการทำงานของคน ทำงานแล้วมีความสุขหรือไม่ พร้อมทำต่อหรือไม่ เป็นการถอดบทเรียนระหว่างทาง ในการแก้ไขปัญหา ทำการหนุนเสริม เพราะเราทำไปด้วยกันเป็นครอบครัวเดียวกันผู้ประสานงานโครงการกล่าว

ศักดิ์ชัย ไชยเนตร ผู้ประสานงานโครงการ

              ทั้งนี้จากการถอดบทเรียนทั้ง 5 พื้นที่พบว่าปัญหาที่แต่ละชุมชนพบมีหลายประเด็น อาทิ ครอบครัวไม่มีที่อยู่อาศัย ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาคนไร้สัญชาติ แม่เลี้ยงเดี่ยว และปัญหาท้องไม่พร้อม

              แต่ละชุมชนที่มาเข้าร่วมโครงการเคยทำการประเมินให้คะแนนศักยภาพของตนเองในการทำงานกลไกชุมชนไว้ และหลังจากผ่านการอบรม การลงพื้นที่โดยมีโค้ชชุมชน และโค้ชพี่เลี้ยงคอยหนุนเสริม พบว่าแต่ละชุมชนให้คะแนนศักยภาพของตนเองมากขึ้น 

              จากปัจจัย การมีความรู้ความเข้าใจในเนื้องาน การสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่คนในชุมชนได้ ไปจนถึงการมีทีมกลไกสามารถวิเคราะห์ปัญหาของแต่ละครอบครัว จนเกิดการช่วยเหลือและส่งต่อ ประสานงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ กลายเป็นทีมกลไกที่ได้รับความไว้วางใจจากคนในชุมชน ได้รับความร่วมมือในการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม และคนในชุมชนเริ่มตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กและการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะของเด็กและเยาวชน ช่วยกันสอดส่องดูแลเด็กในชุมชนมากขึ้น

              ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการทำงานแบบชุมชนนำ

              สมจิตร วงศ์ทวี ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโพธิ์ธารมณ์ อบต.พระธาตุ .นาดูน .มหาสารคาม ในฐานะโค้ชชุมชน และยังเป็นทีมกลไก พบว่าโครงการนี้ทำให้ยิ่งเห็นถึงความสำคัญของระบบนิเวศเด็ก เพราะสภาพแวดล้อมมีผลต่อการเรียนรู้ ทั้งผู้ดูแล คนใกล้ชิด เพื่อนบ้าน ล้วนมีความสำคัญต่อการดูแลเด็ก ซึ่งในช่วงแรกยังไม่ได้รับความไว้วางใจจากคนในชุมชน แต่ทีมทำงานก็ทำงานอย่างสม่ำเสมอ สามารถอธิบายและเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดกับเด็กได้ ทำให้คนในชุมชนเปิดใจยอมรับในการเก็บข้อมูลและลงพื้นที่มากขึ้น   

 

สมจิตร วงศ์ทวี ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโค้ชชุมชน

              “อุปสรรคการทำงานในช่วงแรกคือผู้ปกครองยังไม่ยอมรับ แต่เราก็ทำงานสม่ำเสมอ ทำการเก็บข้อมูลในชุมชนพบเจอปัญหาด้านพัฒนาการ เด็กติดจอ พูดเป็นภาษาการ์ตูน พ่อแม่ผู้ปกครองก็คิดว่าลูกเก่งที่พูดภาษาแปลกๆ ได้ หรือเห็นเป็นเรื่องขบขัน เราก็เข้าไปให้คำแนะนำกับผู้ปกครอง จนผู้ปกครองยอมเปลี่ยนพฤติกรรม แล้วจากนั้นก็ชวนเด็กทำกิจกรรมมากขึ้น จนพัฒนาการดีขึ้นสมวัยครูใบกล่าว

              นอกจากนี้ในฐานะครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ยังได้รับความรู้เข้าใจในเรื่อง สิทธิเด็ก ทักษะสมอง EF ไปจนถึงการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย(DSPM) เพื่อนำไปปรับใช้ในการทำงานที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วย

              “ก่อนหน้านี้เราเคยอบรมเรื่อง DSPM มาก่อน แต่จะเป็นลักษณะการฟังบรรยาย ก็จะไม่เข้าใจทั้งหมด แต่พอเราได้มารับการอบรมโครงการก็มีอาจารย์มาสอนวิธีการ ให้เราได้ทำไปด้วย จนเกิดการซึมซับ เป็นกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และอาจารย์จะรับฟังเราด้วย ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นครูใบกล่าวถึงรูปแบบการถ่ายทอดความรู้ที่เข้าใจง่าย

กิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

              สวรรยา เทพันดุง อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลกะฮาด .เนินส่ง .ชัยภูมิ และในฐานะโค้ชชุมชนของโครงการพัฒนาทีมกลไกชุมชนเพื่อสนับสนุนสุขภาวะเด็กประถมวัยและครอบครัว กล่าวว่า องค์ความรู้สำคัญที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการนี้คือ สิทธิเด็ก  การประเมินพัฒนาการเด็กด้วยเครื่องมือ DSPM ซึ่งเคยมองว่าเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก แต่หลังผ่านการอบรม จึงเข้าใจและสามารถใช้คู่มือเพื่อบันทึกข้อมูล และจัดทำกราฟเป็น

              “ปกติชาวบ้านเขาได้สมุดบันทึก DSPM มาอยู่แล้ว แต่เขาไม่รู้ว่ามันคืออะไร ต้องทำอะไร ตอนแรกที่เราเข้าไปอธิบายเรื่องนี้ เขายังไม่เชื่อเพราะเราก็เป็นคนธรรมดาไม่ใช่หมอ แต่เราไปบ่อยๆ ไปหาทุกเดือน และไปทุกหมู่บ้าน เข้าไปอธิบายว่าเรื่องพัฒนาการสำคัญอย่างไร จนชาวบ้านเข้าใจ และผลตอบรับที่ดี คือพ่อแม่ผู้ปกครองได้เข้ามาเป็นทีมกลไกของเราสวรรยาในฐานะอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลกล่าว

สวรรยา เทพันดุง อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลกะฮาด

              เช่นเดียวกับ ธนภรณ์ เหนือเก่ง  พนักงานโรงพยาบาลสาธารณสุขตำบล ในฐานะโค้ชชุมชน .บึงเนียม .เมือง .ขอนแก่น เล่าถึงตำบลบึงเนียมว่ามี 12 หมู่บ้าน จึงแบ่งทีมโค้ชชุมชนที่มี 3 คนออกไปดูแลคนละ 4 หมู่บ้าน ช่วยกันประสานงานในพื้นที่ นำส่งข้อมูลจากโรงพยาบาลสาธารณสุขตำบลให้แก่ทีมกลไกเพื่อแบ่งทีมทำงาน โดยทีมทำงานก็จะลงพื้นที่ในโซนที่ตนเองคุ้นเคยมีการร่วมกันทำแผนที่เดินดิน เพื่อให้เข้าถึงคนในชุมชนได้ง่าย 

ธนภรณ์ เหนือเก่ง  พนักงานโรงพยาบาลสาธารณสุขตำบล

              ทำให้ทีมทำงานโดยเฉพาะกลุ่ม อสม. ที่ในอดีตมีหน้าที่เพียงบันทึกข้อมูลวัดน้ำหนัก ส่วนสูงเด็ก แต่ไม่ได้มีการเก็บข้อมูลด้านพัฒนาการ หรือ ภาวะโภชนาการ ก็สามารถให้คำแนะนำแก่พ่อแม่ผู้ปกครองได้ว่าเด็กแต่ละวัยควรทำกิจกรรมใดได้บ้าง เพื่อวัดพัฒนาการ

              “เวลาเราลงพื้นที่ เห็นชัดว่าเด็กมีพัฒนาการไม่สมวัย เพราะผู้ปกครองขาดความรู้ความเข้าใจ เราก็จะชวนเด็กและผู้ปกครองทำกิจกรรมเสริม  ตอนนี้ผู้ปกครองจะคอยรายงานตลอดว่าตอนนี้ได้ทำอะไรได้บ้าง โดยที่เราไม่ต้องถามเลย เพราะเขาเห็นความเปลี่ยนแปลง เด็กในชุมชนได้รับการดูแลเอาใจใส่มากขึ้น” 

              ทั้งนี้จากการติดตามความคืบหน้า พบว่าทีมทำงานทุกพื้นที่ประเมินการทำงานของทีม และปรับเพิ่มคะแนนศักยภาพการทำงานสูงขึ้น ในขณะที่ทีมผู้ประเมินโครงการก็เห็นถึงความสามารถในการพัฒนาต่อยอดโครงการ และเห็นว่าทั้ง 5 พื้นที่สามารถยกระดับสู่การเป็นพื้นที่ต้นแบบสำหรับชุมชนอื่นๆ ได้อีกด้วย

 

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ระบุข้อความ