ทำความรู้จักกับการใช้ศิลปะและงานฝีมือ กับการส่งเสริมพัฒนาเด็กปฐมวัย
ทำความรู้จักกับการใช้ศิลปะและงานฝีมือ กับการส่งเสริมพัฒนาเด็กปฐมวัย
ศิลปะและงานฝีมือเป็นส่วนสำคัญของการศึกษาปฐมวัย การเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์สามารถส่งเสริมจินตนาการตามธรรมชาติของเด็ก และยังช่วยให้พัฒนาทักษะชีวิตที่จำเป็นอื่นๆ ที่จะคงอยู่กับพวกเขาไปอีกหลายปี
ศิลปะและงานฝีมือทำให้เกิดความสนุกสนาน เป็นวิธีที่สร้างการโต้ตอบให้กับเด็กๆ ในการฝึกสิ่งต่างๆ ได้ดี เช่น ทักษะการเคลื่อนไหวและความสามารถในการแก้ปัญหา ยกตัวอย่าง ก่อนที่จะเรียนรู้วิธีใช้เครื่องมือขั้นสูง เช่น ไขควงและค้อน เด็กหลายคนค้นพบความรักในการก่อสร้างและการออกแบบผ่านการปั้นแป้งโดว์แบบง่ายๆ มาแล้วทั้งนั้น
กิจกรรมศิลปะและงานฝีมือสามารถช่วยให้เด็กๆ พัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญหลายประการ ได้แก่
- ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
- การแสดงออกถึงความเป็นตัวของตัวเอง
- ความมั่นใจและความเป็นอิสระ
- พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก
- การแก้ปัญหา
- การทำงานประสานมือและตา
- ทักษะทางสังคม
- การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
สิ่งสำคัญที่ผู้สอนต้องจำไว้ คือ รูปแบบการเรียนรู้ของเด็กทุกคนและการพัฒนาที่รวดเร็วจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป้าหมายในการสอนเรื่องศิลปะและงานมือให้กับเด็ก จึงเป็นจุดเริ่มต้น เพื่อให้ผู้ดูแลเด็กได้เลือกกิจกรรมที่มีพัฒนาการเหมาะสมกับช่วงวัยของเด็กแต่ละคน
กิจกรรมศิลปะประสาทสัมผัสสำหรับเด็กอายุ 1-5 ปี
การเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัสอาจเป็นกิจกรรมใดๆ ก็ตามที่กระตุ้นประสาทสัมผัสของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นกลิ่น รส สัมผัส เสียง หรือการมองเห็น เมื่อคุณรวมการเล่นประสาทสัมผัสเข้ากับกิจกรรมศิลปะ เด็กๆ จะสัมผัสกับพื้นผิว กลิ่น เสียง และสถานการณ์ใหม่ๆ โดยไม่มีความคิดหรือความคาดหวังใดๆ มาก่อน กิจกรรมเหล่านี้จะทำให้เด็กสามารถพัฒนาการเชื่อมโยงเชิงบวกกับวัสดุต่างๆ และข้อมูลทางประสาทสัมผัสใหม่ๆ ได้อย่างเป็นธรรมชาติ
- ฝึกระบายสี จากวัสดุต่างๆ
- ใช้ชอล์กขีดเขียนพื้น
- ตั้งวงดนตรีจากของใช้ในบ้าน (ชาม ช้อน หลอด กะละมัง ฝาหม้อ ฯลฯ)
- ฝึกจับคู่สีด้วยไม้หนีบผ้า
กิจกรรมศิลปะและงานฝีมือสำหรับเด็กอายุ 6-8 ปี
เมื่อเด็กๆ เริ่มพัฒนาความเข้าใจที่มากขึ้นเกี่ยวกับแนวคิดทางศิลปะ เช่น สี รูปร่าง และลวดลาย พวกเขาก็มีอิสระในการสร้างสรรค์มากขึ้นเช่นกัน เด็กจะเริ่มคิดหาวิธีการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง และเรียนรู้วิธีใช้เครื่องมือและวัสดุศิลปะที่ซับซ้อนมากขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ เช่น
- กิจกรรมประดิษฐ์ของเล่นจากของเหลือใช้
- ประดิษฐ์ศิลปะจากแผ่นฟอยล์กันความร้อน กระดาษสี กระดาษหนังสือพิมพ์ แผงไข่
- ทำว่าวเล่นด้วยตัวเอง
- งานประดิษฐ์จากกระดาษสี
- จิ๊กซอว์กระดาษ
แม้ว่าวัยนี้ยังต้องการคำแนะนำและการควบคุมดูแล แต่การให้เด็กๆ มีเวลาว่างในการเล่นและสร้างสรรค์ผลงานจะช่วยกระตุ้นให้พวกเขาทดลองและใช้ไหวพริบ นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้เรียนรู้วิธีใช้เครื่องมือใหม่ๆ อย่างมั่นใจ และใช้ทักษะการแก้ปัญหาเพื่อบรรลุงานที่ซับซ้อนมากขึ้น
กิจกรรมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์สำหรับเด็กอายุ 9-12 ปีขึ้นไป
โครงการศิลปะและงานฝีมือที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นสามารถเป็นเครื่องมือการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ที่ยอดเยี่ยม นอกเหนือจากการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์แล้ว โครงการศิลปะเหล่านี้ยังสามารถรวมการเรียนรู้สาขาอื่นๆ เข้าด้วยกัน เช่น วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ และอื่นๆ อีกมากมาย ด้วยการรวมวิชาเหล่านี้เข้ากับศิลปะ เด็กๆ สามารถพัฒนาความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นในแต่ละรายการ และค้นพบวิธีใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
- ประดิษฐ์งานศิลปะจากธรรมชาติ (ดอกไม้ ใบไม้)
- ประดิษฐ์รถแข่งจากแกนทิชชู
- รถของเล่นจากไม้หนีบผ้า
- ของเล่นจากถ้วยกระดาษ
- หุ่นยนตร์ขวดน้ำ