ถึงเวลารับฟังเสียงเยาวชน เพราะคนกลุ่มนี้คือพลังสร้างการเปลี่ยนแปลงได้จริง
- แม้เยาวชนคนรุ่นใหม่ในปัจจุบันถูกแบ่งแยกตามทวีป วัฒนธรรม และการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ชุมชนคนของคนกลุ่มนี้ในระดับโลกที่กำลังเติบโตขึ้นกลับเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันด้วยเหตุผลเดียวกัน นั่นก็คือ การสร้างความก้าวหน้า การดำเนินการและสิ่งที่ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ
- งานวิจัย ตีพิมพ์โดยสถาบันบรู๊คกิงส์ล่าสุดเผยให้เห็นว่ากว่าครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมดในประเทศเป็นสมาชิกของคนรุ่นมิลเลนเนียลหรืออายุน้อยกว่า เยาวชนจึงเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน เสมอภาค และสร้างสรรค์มากขึ้น
เยาวชนทั่วโลกมีแรงจูงใจและสามารถดึงเพื่อนเยาวชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วนที่สุดในยุคของเรา นับตั้งแต่การแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นธรรม การศึกษาที่เท่าเทียมกันและการพัฒนาที่ยั่งยืนไปจนถึงวิกฤตขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทั่วโลก
และนี่คือตัวอย่างเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่สนใจสิ่งแวดล้อม และผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชุมชนของตนเองได้ด้วยความมุ่งมั่นและเทคโนโลยี
เมลาติ และ อิซาเบล วิจเซ่น พี่น้องสองสาว ตกใจอย่างมากเมื่อเห็นกองขยะพลาสติกที่เกลื่อนกลาดอยู่บนชายหาดบาหลีในวัยที่มีอายุเพียง 12 และ 10 ปี ทั้งสองคนจึงก่อตั้งกลุ่ม Bye Bye Plastic Bags (ลาก่อน ถุงพลาสติก) เพื่อแก้ไขปัญหา พวกเธอสร้างแรงบันดาลใจให้มีการสนับสนุนจากผู้คนและชุมชนที่รวมตัวกันนับหมื่นเพื่อให้มีวันทำความสะอาด โดยในกรณีหนึ่งสามารถกระตุ้นให้มีการเก็บรวบรวมขยะพลาสติกได้ถึง 65 ตัน ความพยายามทำนองนี้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้รัฐบาลสั่งห้ามใช้ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
คาร์ติก ซอห์นีย์ วัย 26 ปี เป็นนักเรียนตาบอดคนแรกในประเทศอินเดียที่ได้ศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนมัธยม หลังจากทลายปราการการศึกษาของตัวเองได้สำเร็จ เขาได้ร่วมก่อตั้งองค์กร I-Stem ซึ่งเป็นองค์กรที่มุ่งมั่นให้กับการฝึกอบรมด้านเทคนิค การให้คำปรึกษาและโอกาสในการเรียนรู้จากประสบการณ์แก่นักเรียนตาบอดที่ศึกษาด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ทั่วอินเดีย
นีล เดชมุค จากรัฐเพนซิลเวเนียสร้างแอป PlantumAI ตอนที่เขาวัย 16 ปี แอปดังกล่าวใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อช่วยเกษตรกรค้นหาปัญหาและแนวทางแก้ไขในพื้นที่ที่ขาดแคลนทรัพยากร สองปีต่อมาเทคโนโลยีนี้ช่วยแก้ไขปัญหาทุกอย่างตั้งแต่เรื่องโรคพืชและการใช้ยาฆ่าแมลงมากเกินควร ไปจนถึงเรื่องกำหนดการเก็บเกี่ยวที่คาดเดาไม่ได้เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นีลสามารถทำงานอย่างรวดเร็วเพื่อปรับแอปให้รองรับผู้ใช้ได้ดีขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับโควิด-19
ขณะที่เยาวชนปัจจุบันถูกแบ่งแยกตามระยะห่าง วัฒนธรรมและการแพร่ระบาดของโรคระดับโลก แต่ชุมชนเยาวชนที่กำลังเติบโตขึ้นกลับรวมตัวกันได้ด้วยเหตุผลเดียว คือ การเห็นความเป็นไปได้อย่างลึกซึ้งที่จะสร้างความแตกต่างในโลกและเลือกทำด้วยความมั่นใจ ความกล้าหาญและความเชื่อใจ
ผู้ใหญ่จึงต้องเข้าใจและเชื่อมั่นในพลังความเป็นผู้นำและการมองโลกในแง่ดีของพวกเขาด้วยการรับฟังภูมิปัญญาและคำแนะนำของเยาวชนยุคนี้อย่างตั้งใจ มองหาผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงรุ่นเยาว์ในชุมชนของคุณ รับฟังแนวคิดของพวกเขา สนับสนุนและยกระดับเสียงของพวกเขา เพราะเยาวชนคือผู้นำของวันพรุ่งนี้ที่กำลังสร้างการเปลี่ยนแปลงในวันนี้
| เรียบเรียงข้อมูลจาก https://www.forbes.com/sites/vickiphillips/2020/10/13/young-people-are-powerful-forces-for-meaningful-change-we-should-listen-to-them/?ss=e
- งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาอิทธิพลหลักที่ส่งผลมายังความสัมพันธ์ในวัยผู้ใหญ่ พบว่าการที่ผู้ปกครองเข้าไปควบคุมจิตใจเด็ก ทำให้เด็กเสี่ยงต่อการมีความสัมพันธ์ในอนาคตที่จะถูกทำร้ายได้
- ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดระหว่างการควบคุมพฤติกรรมและจิตใจ คือ การควบคุมพฤติกรรมอย่างแน่วแน่แต่ยุติธรรมจะส่งเสริมพัฒนาการที่ดี การควบคุมทางจิตใจหรือที่เรียกกันว่า การใช้ความรุนแรงทางอารมณ์แบบรุกล้ำและเปลี่ยนแปลงความเป็นจริงจะโน้มนำเด็กไปสู่การใช้ความรุนแรงในอนาคต
- การใช้ความรุนแรงทางอารมณ์เป็นรูปแบบการใช้ความรุนแรงที่พบบ่อยที่สุด โดยมีผลที่ตามมาเชิงลบมากมาย รวมถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย ความเสียหายต่อพัฒนาการด้านการเป็นตัวของตัวเอง และมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นคนที่แยกตัวจากสังคม และตกเป็นเหยื่ออย่างต่อเนื่อง
- การควบคุมทางด้านจิตใจผู้อื่น หมายถึง การปั่นหัว ทำให้คนที่ถูกควบคุมรู้สึกละอายใจเรื่องความรู้สึกและความคิดที่ถูกต้องของเจ้าตัว ใช้ ความรู้สึกผิด และการกล่าวโทษ เพื่อให้คนอื่นตั้งตนเป็นปฏิปักษ์และลงมือกับบุคคลนั้น ไปจนกระทั่งถึงขั้นเกิดความสุขที่ได้ทารุณผู้อื่น และเอารัดเอาเปรียบในการทำให้คนผู้นั้นรู้สึก “วิตกกังวลสับสนในใจ”
งานวิจัยชิ้นนี้ใช้แบบจำลองการสำรวจนักเรียนที่คัดเลือกมา 230 คน ร้อยละ 60 เป็นผู้หญิงอายุเฉลี่ยประมาณ 20 ปี ทุกคนมีประวัติความสัมพันธ์ที่โรแมนติก เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 66) มีความสัมพันธ์ในช่วงระหว่างที่ทำการศึกษา โดยมีระยะเวลาของความสัมพันธ์เฉลี่ย 2 ปี นักเรียนเหล่านี้ทำตามมาตรการการรายงานตนเองในเรื่องที่กำหนดไว้ รวมถึงมาตรวัดรูปแบบการเลี้ยงดู แบบฟอร์มข้อมูลประสบการณ์การใช้ความรุนแรงช่วงต้น และแบบสอบถามการใช้ความรุนแรงทางอารมณ์
นักวิจัยได้ข้อค้นพบว่ารูปแบบการเลี้ยงดูที่แตกต่างกันของพ่อแม่ผู้ปกครองที่ส่งผลต่อการใช้ความรุนแรงทางอารมณ์ มี 4 รูปแบบ ได้แก่
- การเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่
รูปแบบนี้เกี่ยวพันกับผลลัพธ์เชิงบวก ผู้ปกครองสร้างความสมดุลระหว่างความอบอุ่นและการตอบสนองโดยมีขอบเขตที่ชัดเจนและการตามใจน้อยกว่า ผู้ปกครองในแบบนี้พยายามควบคุมพัฒนาการเด็กที่ช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ โดยเน้นที่การชี้นำพฤติกรรมที่เหมาะสมอย่างแน่วแน่ ไม่ใช้การควบคุมจิตใจของเด็ก ไม่ก้าวก่ายทางอารมณ์ โดยอาศัยความรัก การทำเช่นนี้ช่วยให้เด็กพัฒนาความรู้สึกที่มั่นคงในตนเอง สามารถเรียนรู้การควบคุมตนเองและขอบเขตทางสังคมที่เหมาะสมพร้อมพื้นที่ในการพัฒนาด้านจิตใจ เด็กที่ถูกเลี้ยงดูด้วยลักษณะนี้มักจะมีความรับผิดชอบ พึ่งพาตนเองได้และกล้าแสดงออก
- การเลี้ยงดูแบบควบคุม
มีลักษณะของการเรียกร้องสูงแต่การตอบสนองต่ำกว่า ความกระด้างเป็นเรื่องปกติ ทำให้เด็กคุ้นเคยกับอารมณ์เชิงลบในความสัมพันธ์ใกล้ชิด เนื่องจากการตอบสนองขาดหายไป พ่อแม่ที่เลี้ยงลูกแบบนี้ มีความคิดว่า ถ้าไม่ทำตามก็ไปให้พ้น พ่อแม่ที่เลี้ยงดูแบบควบคุมไม่ค่อยจะให้กำลังใจและอาจปกป้องมากเกินไป มีการควบคุมพฤติกรรมมากเกินจริงและมักพยายามเข้าไปควบคุมความคิดและความรู้สึกในใจของเด็กด้วย เด็กจึงมักมีแนวโน้ม ไม่ไว้วางใจ ไม่พอใจและออกห่าง
- การเลี้ยงดูแบบตามใจ/ยอมตาม
เป็นรูปแบบที่ตรงกันข้ามกับการเลี้ยงดูแบบควบคุมตรงที่มีการควบคุมไม่เพียงพอแต่มีการตอบสนองสูง พ่อแม่ที่ตามใจจะไม่ค่อยควบคุมพฤติกรรม เด็กจะไม่สามารถพัฒนาการรู้จักควบคุมตนเองได้
- การเลี้ยงดูที่ตามใจ/ปล่อยปละละเลย
ตรงกันข้ามกับการเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ตรงที่ขาดการควบคุมและขาดการตอบสนอง เด็กที่พ่อแม่ตามใจมีแนวโน้มที่จะสืบเสาะค้นคว้า พึ่งพาตนเอง และควบคุมตนเองได้น้อยลงทั้งหมด