ชวนผู้ปกครองสำรวจตนเองว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการรังแกกันของเด็กในโรงเรียนอย่างไร
การแกล้ง หรือการหยอกล้อกันในวัยเด็ก มิใช่แค่เรื่องธรรมดาอีกต่อไป ปัจจุบันได้กลายเป็นสาเหตุหนึ่งของการทำร้ายตนเอง ฆ่าตัวตายในเด็กวัยเรียน ปัญหารูปแบบการรังแกกันที่หลากหลายขึ้น เช่น การทำร้ายร่างกาย ข่มขู่ เรียกทรัพย์ แต่การรังแกกันที่พบบ่อยกว่าคือ การแย่งเพื่อน ปล่อยข่าวลือ ปฏิเสธการเข้ากลุ่ม ทำให้เพื่อนเป็นตัวตลก
ปัญหาการรังแกกันในโรงเรียนของไทยมีความชุกสูงถึงร้อยละ40 มีเหตุการณ์การลาออกจากโรงเรียน การฆ่าตัวตาย เข้าสังคมไม่ได้ของเด็กที่เป็นผลจากการรังแกกันมากขึ้น
รูปแบบหนึ่งในการหยอกล้อของเด็กคือ การล้อเกี่ยวกับรูปลักษณ์ภายนอก เป็นการล้อเล่นที่สร้างความเจ็บปวดกับคนที่ถูกล้อได้มากและเกิดบ่อยในสังคมไทย เนื่องจากมีการยอมรับในสังคม และคนที่ถูกล้อมักไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ โดยเฉพาะเมื่อเกิดกับเด็กๆ หากไม่มีผู้ใหญ่ช่วยจัดการ มักจะส่งผลระยะยาวกับเด็กที่ถูกล้อเลียน
“การล้อเล่น จะกลายเป็นรังแกเมื่อคนที่ถูกล้อ รู้สึกแย่หรือทุกข์ใจจากการถูกล้อ”
เด็กบางคนมีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นผู้รังแกและผู้ถูกรังแกมากกว่าเด็กทั่วไป ทั้งนี้ อาจไม่มีปัจจัยใดที่บ่งชี้ถึงความเสี่ยงต่อการรังแกที่ชัดเจน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ ด้าน ทั้งตัวเด็กเอง ครอบครัว เพื่อน โรงเรียน และประสบการณ์ในโรงเรียนเดิม
เด็กที่ถูกรังแกส่วนใหญ่เล่าให้พ่อแม่/ผู้ปกครองฟัง แต่เด็กที่รังแกผู้อื่นมีส่วนน้อยที่บอกให้ผู้ปกครองรับรู้ พ่อแม่ผู้ปกครองอาจเป็นตัวส่งเสริมให้เกิดการรังแกกันในโรงเรียนได้ หากมีวิธีการเลี้ยงดู ความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง
มาลองสำรวจความรู้ ความเข้าใจเรื่องการรังแกกันของเด็กในฐานะผู้ปกครอง ว่าคุณตอบอย่างไร
1. การรังแกกันเป็นเรื่องปกติ เป็นส่วนหนึ่งของการเติบโต
เนื่องจากการรังแกกันไม่ใช่เรื่องปกติ ส่งผลกระทบด้านลบต่อการพัฒนาการ อารมณ์ จิตใจ และสังคมของบุคคล และส่งผลเสียในระยะยาวได้อย่างรุนแรง
2. การตอบโต้ความรุนแรง ด้วยความรุนแรง เช่น สู้กลับ ไม่ใช่การแก้ปัญหาความรุนแรงที่แท้จริง
3. บ่อยครั้ง การที่พ่อ แม่ หรือครู เข้า ไปช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้ง จะช่วยให้เกิดการแก้ปัญหาที่ดีกว่าการปล่อยให้เด็กจัดการความขัดแย้งด้วยตัวของเขาเอง
4. เด็กที่รังแกคนอื่น จะเลิกทำไปเองเมื่อโตขึ้น
เนื่องจากเด็กที่รังแกผู้อื่น มีความเสี่ยงที่จะคงรูปแบบพฤติกรรมการรังแกผู้อื่นไปจนโต และสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิตในวัยผู้ใหญ่
5. ผู้ใหญ่ไม่ควรเข้าไปยุ่งเวลาเด็กมาฟ้อง เพราะการฟ้องยิ่งจะสร้างปัญหามากขึ้น เดี๋ยวถ้าเกิดปัญหาจริงๆ เด็กก็จะมาบอกเอง
เนื่องจากการฟ้องเป็นการร้องขอความช่วยเหลือรูปแบบหนึ่ง ดังนั้น ผู้ใหญ่พึงพิจารณาวิธีการจัดการในแต่ละกรณี
6. ทั้งเด็กผู้รังแก และเด็กผู้ถูกรังแกอาจมีส่วนยั่วยุให้เกิดการรังแกเกิดขึ้น
7. ความขัดแย้งในเด็ก สะท้อนถึงการเล่นหยอกล้อและต่อสู้กัน ซึ่งไม่ได้มีอันตรายที่แท้จริง ดังนั้นผู้ใหญ่ไม่ต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยว
เนื่องจากความขัดแย้งในเด็ก หากไม่ได้รับการชี้แนะวิธีแก้ไขที่เหมาะสม เด็กจะไม่เกิดทักษะการจัดการความขัดแย้งที่ดีเมื่อโตขึ้น
8. ฉันไม่แจ้งที่โรงเรียน เพราะลูกขอร้องให้เก็บเป็นความลับเพราะกลัวว่าสถานการณ์จะยิ่งแย่ลง
เนื่องจากความหวาดกลัวที่ปิดกั้นวิธีการเจรจาเพื่อแก้ปัญหาเป็นการทำให้ปัญหายังคงอยู่ โดยไม่ได้รับการแก้ไข
9. ดูจากภายนอก ก็รู้ว่าเด็กคนไหนจะไปรังแกผู้อื่นหรือเป็นผู้ถูกรังแก
เนื่องจากบุคลิกลักษณะเพียงภายนอกของเด็ก อาจจะอธิบายการเกิดการรังแกกันไม่ได้อย่างแท้จริง เพราะการจะรับมือกับการรังแกกัน เป็นทักษะที่ต้องผ่านการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องใช้การสังเกต และพูดคุยร่วมด้วย