งานวิจัยพบยิ่งควบคุมลูกมาก เด็กเผชิญกับความรุนแรงทางอารมณ์มากเช่นกัน

  • งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาอิทธิพลหลักที่ส่งผลมายังความสัมพันธ์ในวัยผู้ใหญ่ พบว่าการที่ผู้ปกครองเข้าไปควบคุมจิตใจเด็ก ทำให้เด็กเสี่ยงต่อการมีความสัมพันธ์ในอนาคตที่จะถูกทำร้ายได้
  • ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดระหว่างการควบคุมพฤติกรรมและจิตใจ คือ การควบคุมพฤติกรรมอย่างแน่วแน่แต่ยุติธรรมจะส่งเสริมพัฒนาการที่ดี การควบคุมทางจิตใจหรือที่เรียกกันว่า การใช้ความรุนแรงทางอารมณ์แบบรุกล้ำและเปลี่ยนแปลงความเป็นจริงจะโน้มนำเด็กไปสู่การใช้ความรุนแรงในอนาคต
  • การใช้ความรุนแรงทางอารมณ์เป็นรูปแบบการใช้ความรุนแรงที่พบบ่อยที่สุด โดยมีผลที่ตามมาเชิงลบมากมาย รวมถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย ความเสียหายต่อพัฒนาการด้านการเป็นตัวของตัวเอง และมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นคนที่แยกตัวจากสังคม และตกเป็นเหยื่ออย่างต่อเนื่อง
  • การควบคุมทางด้านจิตใจผู้อื่น หมายถึง การปั่นหัว ทำให้คนที่ถูกควบคุมรู้สึกละอายใจเรื่องความรู้สึกและความคิดที่ถูกต้องของเจ้าตัว  ใช้ ความรู้สึกผิด และการกล่าวโทษ เพื่อให้คนอื่นตั้งตนเป็นปฏิปักษ์และลงมือกับบุคคลนั้น ไปจนกระทั่งถึงขั้นเกิดความสุขที่ได้ทารุณผู้อื่น และเอารัดเอาเปรียบในการทำให้คนผู้นั้นรู้สึก “วิตกกังวลสับสนในใจ” 

งานวิจัยชิ้นนี้ใช้แบบจำลองการสำรวจนักเรียนที่คัดเลือกมา 230 คน ร้อยละ 60 เป็นผู้หญิงอายุเฉลี่ยประมาณ 20 ปี ทุกคนมีประวัติความสัมพันธ์ที่โรแมนติก เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 66) มีความสัมพันธ์ในช่วงระหว่างที่ทำการศึกษา โดยมีระยะเวลาของความสัมพันธ์เฉลี่ย 2 ปี นักเรียนเหล่านี้ทำตามมาตรการการรายงานตนเองในเรื่องที่กำหนดไว้  รวมถึงมาตรวัดรูปแบบการเลี้ยงดู แบบฟอร์มข้อมูลประสบการณ์การใช้ความรุนแรงช่วงต้น และแบบสอบถามการใช้ความรุนแรงทางอารมณ์   

นักวิจัยได้ข้อค้นพบว่ารูปแบบการเลี้ยงดูที่แตกต่างกันของพ่อแม่ผู้ปกครองที่ส่งผลต่อการใช้ความรุนแรงทางอารมณ์ มี 4 รูปแบบ ได้แก่

  1. การเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่

รูปแบบนี้เกี่ยวพันกับผลลัพธ์เชิงบวก ผู้ปกครองสร้างความสมดุลระหว่างความอบอุ่นและการตอบสนองโดยมีขอบเขตที่ชัดเจนและการตามใจน้อยกว่า ผู้ปกครองในแบบนี้พยายามควบคุมพัฒนาการเด็กที่ช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ โดยเน้นที่การชี้นำพฤติกรรมที่เหมาะสมอย่างแน่วแน่ ไม่ใช้การควบคุมจิตใจของเด็ก ไม่ก้าวก่ายทางอารมณ์  โดยอาศัยความรัก การทำเช่นนี้ช่วยให้เด็กพัฒนาความรู้สึกที่มั่นคงในตนเอง สามารถเรียนรู้การควบคุมตนเองและขอบเขตทางสังคมที่เหมาะสมพร้อมพื้นที่ในการพัฒนาด้านจิตใจ เด็กที่ถูกเลี้ยงดูด้วยลักษณะนี้มักจะมีความรับผิดชอบ พึ่งพาตนเองได้และกล้าแสดงออก

  1. การเลี้ยงดูแบบควบคุม

มีลักษณะของการเรียกร้องสูงแต่การตอบสนองต่ำกว่า ความกระด้างเป็นเรื่องปกติ ทำให้เด็กคุ้นเคยกับอารมณ์เชิงลบในความสัมพันธ์ใกล้ชิด เนื่องจากการตอบสนองขาดหายไป พ่อแม่ที่เลี้ยงลูกแบบนี้ มีความคิดว่า ถ้าไม่ทำตามก็ไปให้พ้น พ่อแม่ที่เลี้ยงดูแบบควบคุมไม่ค่อยจะให้กำลังใจและอาจปกป้องมากเกินไป มีการควบคุมพฤติกรรมมากเกินจริงและมักพยายามเข้าไปควบคุมความคิดและความรู้สึกในใจของเด็กด้วย เด็กจึงมักมีแนวโน้ม ไม่ไว้วางใจ ไม่พอใจและออกห่าง

  1. การเลี้ยงดูแบบตามใจ/ยอมตาม

เป็นรูปแบบที่ตรงกันข้ามกับการเลี้ยงดูแบบควบคุมตรงที่มีการควบคุมไม่เพียงพอแต่มีการตอบสนองสูง   พ่อแม่ที่ตามใจจะไม่ค่อยควบคุมพฤติกรรม เด็กจะไม่สามารถพัฒนาการรู้จักควบคุมตนเองได้

  1. การเลี้ยงดูที่ตามใจ/ปล่อยปละละเลย

ตรงกันข้ามกับการเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ตรงที่ขาดการควบคุมและขาดการตอบสนอง เด็กที่พ่อแม่ตามใจมีแนวโน้มที่จะสืบเสาะค้นคว้า พึ่งพาตนเอง และควบคุมตนเองได้น้อยลงทั้งหมด

 

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ระบุข้อความ